โรงเรียนราชมุนีรังสฤษฏ์
ประชาสัมพันธ์

นวัตกรรม  การดำเนินงานดนตรีสร้างสรรค์ กิจกรรมสุขใจ ห่างไกลบุหรี่และอบายมุข โดยใช้ RMS-D Model  โรงเรียนราชมุนีรังสฤษฏ์

การดำเนินงานดนตรีสร้างสรรค์ กิจกรรมสุขใจ ห่างไกลบุหรี่และอบายมุข โดยใช้ RMS-D Model เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนราชมุนีรังสฤษฏ์ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาด้านยาเสพติด  ลดจำนวนนักสูบ นักเสพหน้าใหม่ ซึ่งมีการดำเนินงาน ดังนี้

  • R : ดึงนักเรียนกลับจากอบายมุข (Retire) ครูที่ปรึกษา ประสานกับครูนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษาโรงเรียนราชมุนีรังสฤษฏ์ คือครูยอดขวัญ มามะ เข้าพูดคุยเปิดใจ เยี่ยมบ้านเพิ่มเติม มีการประสานงานกับเครือข่ายในการช่วยเฝ้าระวังดูแลพฤติกรรมนักเรียนภายนอกสถานศึกษา เช่น เครือข่ายผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลนาประดู่  เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายสถานีตำรวจภูธรนาประดู่ เป็นต้น โดยทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้นักเรียนมีความไว้วางใจ เกิดเป็นความเชื่อมั่นในตนเองที่จะเอาชนะตนเองไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และอบายมุข
  • M : ดนตรีบำบัดจิตใจ  (Musical) ใช้ดนตรีเป็นฐานในการเบี่ยงเบนความสนใจนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยสนับสนุนเครื่องดนตรี และห้องซ้อม และคุณครูที่ปรึกษาในด้านดนตรีมาแนะนำการเล่นดนตรี นอกจากนี้ยังมีนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการร้องเพลงมาร่วมร้องเพลงและเล่นดนตรีด้วยกัน
  • S : มอบพื้นที่ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ (Special Space) มอบพื้นที่พิเศษเพื่อให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความสามารถ โดยใช้กิจกรรมในโครงการหรือวันสำคัญต่างๆ ที่นักเรียนสนใจ ได้แก่ กิจกรรม Inthanin festival, สัปดาห์วิทยาศาสตร์, วันคริสมาสต์  เป็นต้น  รวมไปถึงเวลาว่าง หรือคาบพักเที่ยงของนักเรียน
  • D : การปฏิเสธไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข (Decline) เสริมสร้างเจตคติที่ดีในการไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และอบายมุข โดยการทำสัญญาใจในการลดละเลิกไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และอบายมุข

การดำเนินงานดนตรีสร้างสรรค์ กิจกรรมสุขใจ ห่างไกลบุหรี่และอบายมุข โดยใช้ RMS-D Model มีการดำเนินงาน ภายใต้กรอบ กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ของโครงการ “สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข”ดังนี้
4 ต้อง
1. สถานศึกษาต้องมีกลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพปัญหายาเสพติดและบริบทพื้นที่
2. สถานศึกษาต้องมีแผนงานยาเสพติดในสถานศึกษาที่ชัดเจน
3. สถานศึกษาต้องพัฒนาระบบงานรองรับยุทธศาสตร์ 4 ระบบ คือ ป้องกัน เฝ้าระวัง ดูแลช่วยเหลือ และบริหารจัดการ
4. สถานศึกษาต้องมีเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน

2 ไม่
1. สถานศึกษาไม่ปกปิดข้อมูล กลุ่มเสพ กลุ่มติด กลุ่มค้ายา
2. สถานศึกษาไม่ผลักปัญหา ไม่ไล่นักเรียนออกจากสถานศึกษา แต่ต้องนำไปบำบัดรักษาแล้วกลับมาเรียนใหม่ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *